งานการเงิน การคลัง และพัสดุ

วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์

วิสัยทัศน์

เป็นเลิศในการบริการ ทำงานโปร่งใส ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไกล ใส่ใจดุจญาติมิตร

พันธกิจ

ร่วมมือสนับสนุนในการบริหารงานตามพันธกิจของสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ ให้ก้าวหน้าตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ บริการรับ-จ่ายเงินอย่างถูกต้อง รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้  เป็นแหล่งข้อมูลทางด้านการเงินการคลังที่ถูกต้องรวดเร็ว เพื่อประโยชน์ต่อการตัดสินใจและการวางแผน

 

เป้าหมาย

            การบริหารงบประมาณ การบริหารการเงินและบัญชี การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน รวมทั้งการบริหารด้านอื่นๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และประหยัด ได้แก่

1. บริหารการเงินโดยใช้ระบบงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชี จากเงินงบประมาณแผ่นดิน และงบประมาณเงินรายได้ โดยเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่ายลักษณะ 3 มิติ เพื่อสนับสนุนภารกิจและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ

2. บริหารการเงินโดยยึดหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในองค์กร

3. นักวิจัยและบุคลากร รวมทั้งผู้รับบริการ มีความพึงพอใจกับการบริการของงานการเงิน การคลังและพัสดุ

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อบริหารงานด้านงบประมาณ พัสดุ การเงิน และการบัญชีให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

2. ให้บริการสนับสนุนภารกิจหลักของสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ ด้านงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชีถูกต้อง

3. ปรับปรุงระบบการบริหารงานและการปฏิบัติงานที่สามารถตรวจสอบได้ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดขั้นตอนในการทำงาน

4. เพื่อให้บุคลากรในงานการเงิน การคลังและพัสดุปฏิบัติงานโดยเน้นความคาดหวัง ความต้องการของผู้รับบริการพึงพอใจสูงสุด

 

การบริหารงานการเงิน การคลังและพัสดุ

1. มีการบริหารการเงินที่มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น ลดขั้นตอนในการทำงาน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน

2. มีการจัดทำฐานข้อมูลทางการเงิน ตรวจสอบและติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามแผนการใช้เงินและวงเงินที่กำหนด

3. มีการพัฒนาและปรับปรุงระบบกลไกการใช้งบประมาณให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ

4. มีการจัดทำบัญชี รายงานทางการเงินและบัญชีรายเดือน รายไตรมาส และรายปี

5. มีการควบคุมทางด้านเอกสารการเงินบัญชีและพัสดุที่รัดกุม

6. วิเคราะห์สถานภาพทางการเงินและบริหารจัดการเงินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

7. มีการนำแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการทางด้านการเงิน มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้

8. กำหนดผู้รับผิดชอบหลัก ติดตาม กำกับ ดูแลกระบวนงานสำคัญให้เป็นไปตามแผน

9. กำหนดผู้รับผิดชอบหลัก ติดตาม กำกับ ดูแล ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work Flow)

10. สร้างความเข้าใจที่ตรงกันในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ

 

แนวทางในการปฏิบัติ การกำกับ เร่งรัดและติดตามการบริหารงบประมาณ ดังนี้

1. การดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้ หน่วยงานจะพิจารณา ว่า รายการใดที่สามารถเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินได้ ให้ดำเนินการเบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน ก่อนแล้วจึงเบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ ซึ่งจะมีแผนการใช้จ่ายเงินที่เป็นไปตามภารกิจและความจำเป็นของหน่วยงาน โดยยึดหลักความถูกต้องตามระเบียบ คุ้มค่า ความประหยัด ความโปร่งใส และตรวจสอบได้

2. การดำเนินการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ ที่ได้เงินสนับสนุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งได้แก่ โครงการวิจัยต่างๆ การใช้จ่ายเงินจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของแหล่งทุนนั้นๆ และตามระเบียบของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งการใช้จ่ายเงินจากงบประมาณเงินส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา จะปฏิบัติตามประกาศสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง หลักเกณฑ์การบริหารเงินอุดหนุนโครงการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกและหลักเกณฑ์การบริหารจัดการเงินส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา และมีคณะกรรมการบริหารเงินส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ ตามคำสั่งสถาบันฯ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาหลักเกณฑ์และบริหารจัดการเงินส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาของสถาบันฯ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งตามวาระของผู้อำนวยการ นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังมีการเร่งดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทุกหมวดรายจ่ายให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด

3. มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ เพื่อเสนอมหาวิทยาลัยประจำทุกสิ้นเดือน ใน ระบบฐานข้อมูลทางการเงินโดยใช้ระบบงบประมาณพัสดุการเงินและบัญชีกองทุนโดยเกณฑ์พึงรับพึงจ่าย ลักษณะ มิติ การจัดทำรายงานแสดงสถานะทางการเงิน ได้แก่ รายงานฐานะทางการเงินรายเดือน รายไตรมาส และรายปี รายงานแสดงยอดเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคาร รายงานงบประมาณคงเหลือตามแผนงาน/งาน/กองทุน การจัดทำรายงานทางการเงินประจำทุกเดือนเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารประจำสถาบันฯ การจัดทำรายงานทางการเงินเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการประจำสถาบันฯ ปีละ     ครั้ง หากมีข้อเสนอแนะนำมาปรับปรุงดำเนินการตามข้อเสนอแนะนั้น รวมถึงการมีผู้ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินจากสำนักงานการตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมไปถึงบริษัทสอบบัญชีภายนอก ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบการเงินการคลัง

 

หน้าที่ความรับผิดชอบของงานการเงิน การคลังและพัสดุ

1. การตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน

2. การขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน

        - เงินงบประมาณแผ่นดิน

        - เงินงบประมาณเงินรายได้

        - เงินนอกงบประมาณ (โครงการวิจัย)

        - เงินส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา

        - เงินกองทุนพัฒนาสถาบันวิจัยพหุศาสตร์

        - เงินดอกเบี้ยกองทุนพัฒนาสถาบันวิจัยพหุศาสตร์       

3. การขออนุมัติเปิด/ปิดบัญชีธนาคาร การเบิกสมุดเช็คธนาคาร

4. การรับเงิน

        - การรับเงินรายได้ของสถาบันฯ

        - การรับเงินงบประมาณโครงการวิจัย

        - การรับเงินและการจัดสรรเงินจากการให้บริการวิชาการ การบริการวิเคราะห์ของหน่วยวิจัยในเครือข่ายและศูนย์วิจัย นวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

        - การรับเงินและการจัดสรรเงินค่าบริหารโครงการ (Overhead Charge)

        - การรับเงินค่าเช่าสถานที่

        - การรับเงินรับฝากหลักประกันสัญญา

        - การรับเงินรับฝากต่างๆ

        - การรับเงินจากการชดใช้เงินยืมทดรองจ่าย

5. การเก็บรักษาเงินและการนำส่งเงิน

        - การคุมทะเบียนการเบิก-คืนใบเสร็จรับเงิน การสรุป และการรายงานการใช้ใบเสร็จรับเงินประจำปี

        - การนำส่งเงินรายได้

        - การนำส่งเงินรับฝากหลักประกันสัญญาส่งกองคลัง

        - การคุมทะเบียนการสั่งจ่ายเช็ค/สมุดเช็ค

        - การคุมการเบิกจ่ายเงินสดย่อยภายในสถาบันฯ

        - การนำฝากเงิน/เช็คของหัวหน้าโครงการ/นักวิจัย ฝากเข้าบัญชีธนาคาร

        - การนำเงินเดือนบุคลากรสถาบันฯ/ค่าจ้างลูกจ้างโครงการวิจัย ฝากเข้าบัญชีธนาคาร

6. การคุมเงินงบประมาณแผ่นดิน งบประมาณเงินรายได้ เงินนอกงบประมาณ (โครงการวิจัย) เงินส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา เงินกองทุนพัฒนาสถาบันฯ/ดอกเบี้ยกองทุนพัฒนาสถาบันฯ  และเงินยืมทดรองจ่าย

7. การบันทึกบัญชีการเงินรับ-จ่ายในระบบ 3 มิติ และ GFMIS

8. การติดตาม เร่งรัด การใช้จ่ายเงิน ให้เป็นไปตามแผนและระยะเวลาที่กำหนด

9. การติดตาม เร่งรัดลูกหนี้เงินยืมทดรองจ่ายที่ค้างชำระนาน

10. การจัดทำรายงานทางการเงิน ทั้งรายเดือน รายไตรมาสและรายปีได้แก่ งบทดลอง งบรายได้-ค่าใช้จ่าย   งบดุล หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นต้น

11. ตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีแยกประเภท ตรวจสอบรายงานการเงินต่างๆ

12. การวิเคราะห์แผน/ผลการใช้เงิน

13. การจัดเก็บเอกสารการเงินให้เป็นหมวดหมู่

14. การขออนุมัติจัดซื้อ/จัดจ้าง พัสดุ/ครุภัณฑ์

15. การทำสัญญาซื้อขาย/จ้าง พัสดุ/ครุภัณฑ์ ตรวจสอบและส่งคืนหลักประกันสัญญา

16งานทะเบียนคลังพัสดุ

17. การจัดซื้อ/จัดจ้างในระบบบัญชี 3 มิติ และ GFMIS

18. การตรวจสอบการรับ-จ่ายพัสดุประจำปี

19การจำหน่ายพัสดุออกจากบัญชี

20. การบริหารจัดการโครงการวิจัยที่ผ่านสถาบันฯ ของหน่วย One Stop Service