สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิสัยทัศน์
Research Platform

สถาบันวิจัยพหุศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Multidisciplinary Research Institute,
Chiang Mai University






บทความน่ารู้

แก้ปัญหาการลบคิวงานของเครื่องพิมพ์ Printer ไม่ได้

หลายคนอาจเคยประสพปัญหาเวลาจะปริ้นงานแล้วสั่งปริ้นไม่ได้ สาเหตุมาจากเครื่องพิมพ์มีคิวงานค้างอยู่ นอกจากนั้นแลัวพยายามลบคิวงานยังไงก็ลบไม่ได้ จนไม่สามารพิมพ์งานที่ต้องการปริ้นงาน ณ ปัจุบันได้ สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยวิธีตามขั้นตอนต่อไปนี้ คลิกขวา My Computer หรือ This PC แล้วเลือก Manage เลือก Servics and Applications แล้วคลิก Services คลิก Print Spooler แล้วกดปุ่ม Stop เพื่อหยุดการทำงานของเครื่องพิมพ์ จากนั้นไปลบข้อมูลที่ค้างในโฟลเดอร์ C:/Windows/System32/Spool/Printers สุดท้ายกดปุ่ม Start เพื่อเริ่มการทำงานของเครื่องพิมพ์ใหม่ โดยที่ไม่มีคิวงานค้าง คลังความรู้ IT

ว่านนางคำ

ลักษณะ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในตระกูลขิงลำต้นมีสีเขียวซึ่งเจริญมาจากส่วนของหัวเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของก้านใบยาวแข็ง สีใบเขียวเข้มโดยมีกระดูกและขอบใบสีแดง เนื้อในหัวเหง้ามีสีเหลืองถึงสีเหลืองเข้ม หัวเหง้ามีกลิ่นหอมเย็นและมีรสฝาดว่านนางคำมีหลายชนิด เช่น ว่านนางคำ 1, ว่านนางคำ 2 และว่านนางคำ 3 ซึ่งมีสีของหัวเหง้าและการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามนิยมใช้เป็นส่วนประกอบของสมุนไพรเสริมความงาม ภาพที่ 1 เหง้าของว่านนางคำชนิดต่างๆ วิธีปลูก ขยายพันธุ์ด้วยหัวเหง้า ชอบดินร่วนปนทรายและ ว่านชนิดนี้ถือว่าเป็นพญาว่าน ดินปลูกควรเป็นดินจากกลางแจ้งเผาไฟแล้วทุบให้ละเอียดคลุกเคล้าด้วยใบพืชและหญ้าสับฟางข้าวและใบพืชตระกูลถั่วแล้วใช้ก้อนอิฐมอญทุบหยาบๆ 4-5 ก้อนรองก้นกระถางเพื่อช่วยระบายน้ำ นำมาปลูกโดยให้เหง้าโผล่อย่ากลบดินให้มิดและกดดินให้แน่น รดน้ำด้วยคาถา “นะโมพุทธายะ” ทุกครั้ง และปลูกวันพฤหัสข้างขึ้น การใช้ประโยชน์ ทางเภสัชวิทยาใช้เหง้ามาตำละเอียดใช้พอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอกตามร่างกายโดยใช้เหล้า 40 ดีกรีเป็นกระสาย คุณสมบัติพิเศษของว่านนางคำอย่างอย่างก็คือในสมัยโบราณใช้เขียนภาพหรือใช้ย้อมผ้า ว่านชนิดนี้เป็นว่านศักดิ์สิทธิ์ต้องเสกด้วย”นะโมพุทธายะ” ก่อนที่จะใช้ยาทุกครั้ง ในปัจจุบันได้นำว่านนางคำมาเป็นส่วนประกอบของครีมนวดหน้า โดยนำมาใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น เช่น พญายา ขมิ้น ไพล และใบบัวบก ใช้ทำน้ำมันว่าน 108 สำหรับรักษาแผลสด แผลฟกช้ำ ถูนวดแก้ปวดเมื่อย และแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษาวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่าสารสกัดจากว่านนางคำสามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรียแกรมบวก Staphylococccus aureus, แบคทีเรียแกรมลบEscherichia coli, ยีสต์ Candida albicansและเชื้อรา Aspergillus flavus ซึ่งจุลินทรีย์บางตัวเป็นสาเหตุของการเกิดโรคผิวหนัง โรคท้องเสีย และเป็นเชื้อที่ฉวยโอกาสในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประโยชน์ในการนำว่านชนิดนี้ไปต่อยอดก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาและดูแลสุขภาพ ภาพที่ 2การยับยั้งจุลินทรีย์ของสารสกัดจากว่านนางคำ เอกสารอ้างอิง เกษตรกรรมธรรมชาติ. 2555.ขุมทรัพย์ว่านไทย.15 (11). ชุมนุมว่านยาและไม้มงคล. รังว่านปากช่อง. สำนักงาน หอสมุดกลาง 09, กรุงเทพ. 263 หน้า. นิตยา บุญทิม, ชินกฤต สุวรรณคีรี, วสุ ปฐมอารีย์, อนุชา รักสันติและสมภพ บุญทิม.2560. การศึกษาฤทธิ์การยับยั้งจุลินทรีย์ของพืชสมุนไพรวงศ์ขิง. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยพืชเขตร้อนและกึ่งร้อน. วันที่ 3-4 สิงหาคม 2560. กรุงเทพมหานคร.
บทความวิจัยน่ารู้

การชักนำให้กลายพันธุ์โดยใช้สารโคลชิซีน

  การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช หากลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นคงอยู่และสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานรุ่นต่อๆไปได้ การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้สารเคมี เช่น โคลชิซีน หรือการได้รับรังสีต่างๆ เช่น รังสีเอกซ์ และรังสีแกมม่า เป็นต้น   สารโคลชิซีน เป็นสารชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติยับยั้งการแยกตัวของโครโมโซม หรือเส้นสายของสารพันธุกรรมในขั้นตอนการแบ่งเซลล์ การยับยั้งการแยกตัวของโครโมโซมนั้น มีผลให้สารพันธุกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่กับชุดเดิมไม่แยกจากกัน เซลล์นั้นจึงมีสารพันธุกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ปกติเซลล์เนื้อเยื่อทั่วไปมีโครโมโซม 2 ชุด หรือ 2x เมื่อสารพันธุกรรมเพิ่มเป็น 2 เท่า จะทำให้ได้เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีโครโมโซม 4x ซึ่งมักจะส่งผลให้เนื้อเยื่อพืชมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปในทางดีหรือเลวลงก็ได้ เช่น เนื้อเยื่อหนาขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น รูปร่างอาจแตกต่างจากเดิม กิจกรรมของเซลล์อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ อัตราการเจริญเติบโตอาจช้าหรือเร็วกว่าปกติ เป็นต้น ซึ่งต้องนำมาตัดเลือกลักษณะที่ดีอีกที และหลังจากมีการแบ่งเซลล์ต่อๆไปจำนวนโครโมโซมอาจเปลี่ยนแปลงโดยไม่ครบทั้งชุดก็ได้ จึงอาจพบเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมหลายแบบ   สำหรับงานวิจัยที่เคยทำนั้น เป็นการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยให้สารโคลชิซีนแก่เนื้อเยื่อน้อยหน่าที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ ซึ่งเนื้อเยื่อถูกกระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยศึกษาผลของเนื้อเยื่อได้รับโคลชิซีด้วยความเข้มข้นและการได้รับเป็นเวลานานต่างกัน หลังจากนั้นเมื่อตรวจสอบจำนวนโครโมโซมจากปลายยอด พบว่ายอดอ่อนที่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ได้รับโคลชิซีนประกอบด้วยเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมหลายจำนวน ได้แก่ 2x, 3x, 4X, 8x และจำนวนที่ไม่เต็มชุด อยู่ปะปนกัน มีการเจริญเติบโตของใบที่พัฒนาก่อนการได้รับโคลชิซีน แต่ใบอ่อนที่กำลังพัฒนาระหว่างการได้รับโคลชิซีน มีลักษณะผิดปกติ ยอดอ่อนเสียและไม่เจริญเติบโตต่อ การทดลองนี้น่าจะใช้ความเข้มข้นของสารโคลชิซีนสูงเกินไป หรือแช่เนื้อเยื่อในสารโคลชิซีนนานเกินไป จึงเกิดผลเสียแก่เนื้อเยื่อซึ่งควรปรับปริมาณหรือเวลาการได้รับสารดังกล่าว
บทความวิจัยน่ารู้

แผ่นไหมไฟโบรอินผสมแป้งข้าวเจ้า

บทความที่แล้วได้กล่าวถึงวิธีเตรียมผงไฟโบรอินที่ละลายน้ำได้ รวมทั้งการนำไหมไฟโบรอินมาทำเป็นแผ่นฟิล์มไม่ละลายน้ำด้วยการแช่ในสารละลายในกลุ่มเอธานอลกันไปแล้ว คราวนี้เรามาฟังกันต่อเรื่องการทำแผ่นฟิล์มไหมไฟโบรอินผสมแป้งข้าวเจ้าที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ที่ผู้เขียนได้เคยทำตอนสมัยเรียนปริญญาเอกที่ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการนำไหมไฟโบรอินมาผสมกับแป้งเพื่อทำให้เป็นแผ่นไฮโดรเจล สาเหตุที่เลือกใช้ไหมไฟโบรอินเพราะมีคุณสมบัติที่ยอมให้ออกซิเจนซึมผ่านได้ ไม่เป็นพิษ และยังมีสมบัติเชิงกลที่แข็งแรง [1] ในขณะที่แป้งข้าวเจ้านอกจากจะมีราคาถูกแล้วยังสามารถเข้ากันกับไหมไฟโบรอินได้ดีอีกทั้งยังสามารถย่อยสลายได้เอง [2] รูปที่ 1 ลักษณะภายนอกของแผ่นฟิล์มไหมไฟโบรอินผสมแป้งข้าวเจ้าที่อัตราส่วนต่าง ๆ (ก) 0:100, (ข) 5:95, (ค) 10:90, (ง) 20:80, (จ) 40:60, (ฉ) 60:40, (ช) 80:20 และ (ซ) 100:0 [3] จากรูปที่ 1 ปัญหาที่พบก็คือเมื่อผสมไหมไฟโบรอินในปริมาณที่สูงขึ้นจะพบว่าแผ่นไฮโดรเจลนั้นมีความแข็งมากเมื่อเกิดการบิดงอจะเกิดการแตกหักได้ง่าย [3] ซึ่งเป็นผลมาจากสมบัติของไหมไฟโบรอินนั้นเอง เรามาดูหมู่ฟังก์ชั่นของไหมไฟโบรอินที่ผสมกับแป้งข้าวเจ้ากันซึ่งมีผลต่อการละลายในน้ำกันต่อในรูปที่ 2 รูปที่ 2 สเปกตรัม FTIR ของ (ก) ไหมไฟโบรอิน (ข) แป้งข้าวเจ้า (ค) ไหมไฟโบรอินผสมแป้งข้าวเจ้า จากสเปกตรัม FTIR [4] ในรูป 2(ก) จะพบหมู่ N-H, amide I (C=O stretching), amide II (N-H bending), และ amide III (C-N stretching) ของไหมไฟโบรอินที่ 3287, 1639, 1526, และ 1241 cm-1 ตามลำดับ สเปกตรัม 2(ข) จะแสดงหมู่ O-H, C=O stretching, C-O bending และ C-O stretching ที่ 3424, 1651, 1229 และ 1013 cm-1 ตามลำดับ ในขณะที่สเปกตรัม 2(ค) จะเห็นได้ถึงหมู่ N-H ที่ซ้อนทับกับ O-H ที่ 3397 cm-1 ในขณะที่ amide I และ II จะเคลื่อนที่ขึ้นไป (shifted) ที่ 1639 และ 1526 cm-1 แต่ amide III ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการที่เวฟนัมเบอร์ (wave number) มีค่ามากขึ้นจะบ่งบอกถึงพลังงานมีค่ามากขึ้นตามมา ซึ่งสุดท้ายเราก็จะได้แผ่นไฮโดรเจลที่มีการเชื่อมไขว้กันทางกายภาพจากหมู่ N-H ของไหมไฟโบรอินกับหมู่ O-H ของแป้งข้าวเจ้า โดยหมู่ N-H ก็มีการเชื่อมไขว้กับหมู่ C=O ของไหมไฟโบรอินด้วยเช่นกัน ซึ่งจะทำให้แผ่นฟิล์มละลายไม่ละลายน้ำหรือมีค่าการละลายต่ำลง ถ้าหากอยากอาศัยตัวช่วยอื่นละ ก็ขอตอบเลยว่าได้ ซึ่งตัวช่วยที่นิยมใช้กันมากก็คือตัวเชื่อมไขว้ (cross-linking agent) ซึ่งต้องเลือกใช้ตัวเชื่อมไขว้ที่ไม่อันตรายหรืออันตรายน้อยที่สุด งั้นขอยกยอดไปคราวหน้าเลยนะครับ เอกสารอ้างอิง [1] Jiang, C.; Wang, X.; Gunawidjaja, R.; Lin, Y.H.; Gupta, M.K.; Kaplan, D.L.; Naik R.R.; Tsukruk, V.V. Mechanical properties of robust ultrathin silk fibroin films.Adv. Funct. Mater.,2007, 17, 2229–2237. [2] Shalviri,S.; Liu, Q.; Abdekhodaie, M.J.; Wua, X.Y. Novel modified starch–xanthan gum hydrogels for controlled drug delivery: synthesis and characterization.Carbohydr. Polym.,2010, 79, 898–907. [3] Racksanti, R.; Janhom, S.; Punyanitya, S.; Watanesk, R.; Watanesk, S. Crosslinking density of silk fibroin - rice starch hydrogels modified with trisodium trimetaphosphate. Appl. Mech. Mater., 2014, 446-447, 366-372. [4] Anucha Racksanti. Preparation and characterization of novel biodegradable blend from silk fibroin and rice starch. Doctor of Philosophy in Chemistry, Department of Chemistry, Faculty of Science, Chiang Mai University, 2014.
บทความวิจัยน่ารู้

สร้าง QR CODE ง่ายๆ

QR Code คือบาร์โค้ด 2 มิติ ย่อมาจากคำว่า Quick Response ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1994 โดยบริษัท Denso-Wave ประเทศญี่ปุ่น QR Code มีประโยชน์มาก สามารถนำมาใช้ได้หลากหลาย เช่น แสดง URL ของเว็บไซต์, ข้อความ, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ที่นิยมกันส่วนใหญ่คือนำเอามาใช้เก็บ URL ของเว็บไซต์ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลผ่านมือถือ ด้วยการสแกนรูป QR Code ก็สามารถเข้าสู่เว็บไชต์ได้อย่างรวดเร็วได้โดยไม่ต้องพิมพ์ URL สำหรับการสร้าง QR CODE เข้าไปที่เว็บไซต์ http://goqr.me/ เลือกรูปแบบที่ต้องการทำ QR CODE เช่น URL , TEXT , VCARD , SMS , CALL , GEOLOCATION , EMAIL เป็นต้น คัดลอก URL หรือข้อความที่ต้องการจะทำเป็น QR CODE วางลงในกล่องข้อความ หลังจากนั้นระบบจะประมวลผล QR CODE มาให้เราแบบอัตโนมัติ พร้อมกับสามารถ download รูปภาพ QR CODE หรือ Embed ไปใช้งานได้เลยครับ
เกร็ดความรู้ (Tips)

MDRI LIFELONG