ภาพกิจกรรม
จุดประกายแนวทางและความสำคัญของขับเคลื่อนเมืองลำพูนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนกันในงาน ‘อินทยงยศ ถนนสายวัฒนธรรม : Soft Power of Lamphun’
โครงการขับเคลื่อนลำพูนเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ ร่วมจุดประกายแนวทางและความสำคัญของขับเคลื่อนเมืองลำพูนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนกันในงาน ‘อินทยงยศ ถนนสายวัฒนธรรม : Soft Power of Lamphun’
โดยภายในงานมีกิจกรรมเวทีเสวนา ‘ลำพูนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยเครือข่ายคนลำพูน’ ซึ่งรวมตัวบรรดาผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญ อาทิ นายกสมาคมท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน กลุ่ม Lamphun City Lab วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านดอนหลวง (เหย่ะลายดี) กลุ่มมรรคลำพูน และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ย่านเก่าเมืองลำพูน มาแลกเปลี่ยนแบ่งปันมุมมองการต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจลำพูนด้วยมรดกทางวัฒนธรรม ต้นทุนท้องถิ่นและความคิดสร้างสรรค์
พร้อมกันนั้นทางโครงการได้นำผลการศึกษาวิจัยของโครงการอันประกอบด้วยหัวข้อ ‘โมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างคุณค่าสินค้าหัตถกรรมสร้างสรรค์ลำพูน ด้วย Emotional Marketing’ ‘เครือข่ายพลเมืองสร้างสรรค์’ ‘กลยุทธ์การต่อยอดผลิตภัณฑ์อาหารบนพื้นฐานทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และวิถีวัฒนธรรมของเมืองลำพูน’ ‘การบันทึกเสียงเมืองลำพูนตามแนวคิดภูมิทัศน์เสียง (soundscape)’ รวมถึง ‘กลไกการขับเคลื่อนนิเวศเมืองสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน’ มาจัดแสดงนิทรรศการให้ผู้ร่วมงานได้จุดประกายความเข้าใจ แนวทาง และโอกาสของการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อีกทั้งเปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็นในการขับเคลื่อนลำพูนสู่เมืองสร้างสรรค์ในปี 2566-2567 และทิศทางของปี 2568-2570 ด้วย
นอกจากกิจกรรมเชิงวิชาการ ก็ไม่พลาดเตรียมความรื่นเริงมามอบกันเหมือนเช่นเคย ไม่ว่าจะเป็นการบรรเลงดนตรีพื้นเมือง สะล้อ ซอ ซึง และการแสดงกลองสะบัดชัยสร้างสรรค์ จากคณะดนตรีพื้นเมืองเวียงหนองล่องลำพูนสร้างสรรค์ ตลอดจนไฮไลท์ที่หลายคนรอคอย อย่าง การแสดงบาสโลป โดยกลุ่มบาสโลปวัยแอคทีฟจากศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 ณ งานอินทยงยศ ถนนสายวัฒนธรรม : Soft Power of Lamphun จังหวัดลำพูน
#ลำพูนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ #LamphunCreativeEconomy #ลำพูน #SoftPower #softpowerthailand #NECลำพูน #อินทยงยศ #CTRD #MDRI