การชักนำให้กลายพันธุ์โดยใช้สารโคลชิซีน

บทความวิจัยน่ารู้


การชักนำให้กลายพันธุ์โดยใช้สารโคลชิซีน

การชักนำให้กลายพันธุ์โดยใช้สารโคลชิซีน


 
การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช หากลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นคงอยู่และสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานรุ่นต่อๆไปได้ การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้สารเคมี เช่น โคลชิซีน หรือการได้รับรังสีต่างๆ เช่น รังสีเอกซ์ และรังสีแกมม่า เป็นต้น









 
สารโคลชิซีน เป็นสารชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติยับยั้งการแยกตัวของโครโมโซม หรือเส้นสายของสารพันธุกรรมในขั้นตอนการแบ่งเซลล์ การยับยั้งการแยกตัวของโครโมโซมนั้น มีผลให้สารพันธุกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่กับชุดเดิมไม่แยกจากกัน เซลล์นั้นจึงมีสารพันธุกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ปกติเซลล์เนื้อเยื่อทั่วไปมีโครโมโซม 2 ชุด หรือ 2x เมื่อสารพันธุกรรมเพิ่มเป็น 2 เท่า จะทำให้ได้เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีโครโมโซม 4x ซึ่งมักจะส่งผลให้เนื้อเยื่อพืชมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปในทางดีหรือเลวลงก็ได้ เช่น เนื้อเยื่อหนาขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น รูปร่างอาจแตกต่างจากเดิม กิจกรรมของเซลล์อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ อัตราการเจริญเติบโตอาจช้าหรือเร็วกว่าปกติ เป็นต้น ซึ่งต้องนำมาตัดเลือกลักษณะที่ดีอีกที และหลังจากมีการแบ่งเซลล์ต่อๆไปจำนวนโครโมโซมอาจเปลี่ยนแปลงโดยไม่ครบทั้งชุดก็ได้ จึงอาจพบเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมหลายแบบ





 
สำหรับงานวิจัยที่เคยทำนั้น เป็นการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยให้สารโคลชิซีนแก่เนื้อเยื่อน้อยหน่าที่เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ ซึ่งเนื้อเยื่อถูกกระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยศึกษาผลของเนื้อเยื่อได้รับโคลชิซีด้วยความเข้มข้นและการได้รับเป็นเวลานานต่างกัน หลังจากนั้นเมื่อตรวจสอบจำนวนโครโมโซมจากปลายยอด พบว่ายอดอ่อนที่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ได้รับโคลชิซีนประกอบด้วยเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมหลายจำนวน ได้แก่ 2x, 3x, 4X, 8x และจำนวนที่ไม่เต็มชุด อยู่ปะปนกัน มีการเจริญเติบโตของใบที่พัฒนาก่อนการได้รับโคลชิซีน แต่ใบอ่อนที่กำลังพัฒนาระหว่างการได้รับโคลชิซีน มีลักษณะผิดปกติ ยอดอ่อนเสียและไม่เจริญเติบโตต่อ การทดลองนี้น่าจะใช้ความเข้มข้นของสารโคลชิซีนสูงเกินไป หรือแช่เนื้อเยื่อในสารโคลชิซีนนานเกินไป จึงเกิดผลเสียแก่เนื้อเยื่อซึ่งควรปรับปริมาณหรือเวลาการได้รับสารดังกล่าว














Top